แผนภูมิ (Chart )
ความหมายของแผน(Chart ) แผนภูมิเป็นวัสดุประเภทกราฟิก เรียกว่า ทัศน์วัสดุลายเส้น ที่ใช้สำหรับแสดงความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงข้อมูลความรู้ หรือแนวคิดต่างๆ เพื่อแสดงการเปรียบเทียบ การพัฒนา กระบวนการ การจำแนก การวิเคราะห์ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ สัญลักษณ์ รูปภาพ และตัวอักษร ใช้ประกอบการบรรยาย ชี้แจง สรุปสาระสำคัญเนื้อหาที่เหมาะสมกับสื่อแผนภูมิ ได้แก่ การเปรียบเทียบ ความต่อเนื่อง กระบวนการ ความสัมพันธ์ ขั้นตอน เป็นต้นและแผนภูมิยังเป็นสื่อที่ใช้กับการสอนทุกขั้น เช่น ใช้นำเข้าสู่บทเรียน ใช้ประกอบการอธิบาย หรือเพื่อใช้สรุปบทเรียน
ลักษณะแผนภูมิที่ดี
1. เป็นแบบง่ายๆ และแสดงแนวคิดเดียว
2. ขนาดใหญ่ อ่านง่าย ไม่แน่นเกินไป
3. ใช้สีเพื่อการเน้นเป็นสำคัญ
4. ภาพประกอบต้องเหมาะสม น่าสนใจ
5. เนื้อหาถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
6. เนื้อหาและคำบรรยายชัดเจน อ่านง่าย
7. มีการทบทวนในการใช้และการเก็บรักษา
2. ขนาดใหญ่ อ่านง่าย ไม่แน่นเกินไป
3. ใช้สีเพื่อการเน้นเป็นสำคัญ
4. ภาพประกอบต้องเหมาะสม น่าสนใจ
5. เนื้อหาถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
6. เนื้อหาและคำบรรยายชัดเจน อ่านง่าย
7. มีการทบทวนในการใช้และการเก็บรักษา
เทคนิคการนำเสนอแผนภูมิ
1. แผนภูมิต้องตรงกับเนื้อหา
2. ต้องติดตั้งหรือแขวนให้เรียบร้อย
3. อธิบายตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
4. ขณะให้แผนภูมิต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียน
5. จุดสนใจควรเน้นด้วยสี ขนาด การปิด-เปิด
6. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสนอ
7. การชี้แผนภูมิควรใช้ไม้ชี้หรือวัสดุชี้
8. สามารถใช้ประกอบกับสื่ออื่นๆ ได้
2. ต้องติดตั้งหรือแขวนให้เรียบร้อย
3. อธิบายตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง
4. ขณะให้แผนภูมิต้องหันหน้าเข้าหาผู้เรียน
5. จุดสนใจควรเน้นด้วยสี ขนาด การปิด-เปิด
6. ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเสนอ
7. การชี้แผนภูมิควรใช้ไม้ชี้หรือวัสดุชี้
8. สามารถใช้ประกอบกับสื่ออื่นๆ ได้
ประโยชน์ของแผนภูมิ
1. ใช้ในการชักนำเด็กเข้าสู่บทเรียน
2. ใช้ประกอบการอธิบาย
3. ใช้ในการสร้างปัญหาให้เด็กนักเรียนอยากค้นคว้า
4. ใช้ทบทวนและสรุปบทเรียน
5. เพื่อแสดงการเปรียบเทียบ
6. การพัฒนา กระบวนการ
7. การจำแนก การวิเคราะห์
7. การจำแนก การวิเคราะห์
ข้อสังเกตในการใช้แผนภูมิ
1. ถ้าต้องการให้ผู้ดูสนใจเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งคราวละส่วนควรปิดส่วนเหล่านั้นไว้ก่อน เมื่ออธิบายจึงค่อยเปิดให้เห็น
2. ถ้าแผนภูมิเรื่องเดียวกันมีหลายแผ่นก็ควรเย็บติดกันเป็นเรื่องเดียวกันสำหรับพลิกดูทีละแผ่นเรียกภาพพลิก
2. ถ้าแผนภูมิเรื่องเดียวกันมีหลายแผ่นก็ควรเย็บติดกันเป็นเรื่องเดียวกันสำหรับพลิกดูทีละแผ่นเรียกภาพพลิก
ประเภทของแผนภูมิ
แผนภูมิแบบต้นไม้
เป็นแผนภูมิที่ออกแบบโดยยึดลักษณ์โครงสร้างเป็นต้นไม้เป็นหลัก เริ่มจากลำต้นแล้วแตกแยกออกเป็นกิ่งก้านสาขา แสดงให้เห็นสิ่งหนึ่งๆ แยกออกเป็นหลายสิ่ง แผนภูมิประเภทนี้เหมาะสำหรับ การเสนอเนื้อหาที่อยู่ในรูปของการวิเคราะห์ ได้แก่การขยายพันธ์พืช วงค์ญาติ ประโยชน์ คุณค่า การสลายตัว การแบ่งแยก เป็นต้น
ลักษณะเด่น ของแผนภูมิชนิดนี้ คือใช้ลูกศรชี้โกระจายออกไปจากข้อมูลหลักสู่ข้อมูลย่อย
แผนภูมิแบบต่อเนื่อง (Flow Chart )
เป็นแผนภูมิที่อกแบบโดยมุ่งให้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เหมาะสำหรับการแสดงเนื้อหาที่ต้องการแสดงลำดับขั้นตอนของการทำงาน การเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่อง กระบวนการของวัฏจักรของสิ่งต่างๆ เช่น ขั้นตอนการทำนำเกลือ กระบวนการสร้างฟิลม์ วงจรชีวิตสัตว์ ฯลฯ
ลักษณะเด่น ของแผนภูมิชนิดนี้ คือ มีลูกศรชี้จากข้อมูลหนึ่งไปยังอีกข้อมูลหนึ่งต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ
ลักษณะเด่น ของแผนภูมิชนิดนี้ คือ มีลูกศรชี้จากข้อมูลหนึ่งไปยังอีกข้อมูลหนึ่งต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ
แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ (Comparision Chart)
เป็นแผนภูมิที่ออกแบบเพื่อ แสดงให้เห็นข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างของจำพวกเดียวกัน แต่เป็นคนละแบบ คนละลักษณะ เช่น ลมบก - ลมทะเล จันทรุปราคา-สุริยุปราคา ข้างขึ้น - ข้างแรม ยุงลาย- ยุงก้นปล่อง เป็ด - ไก่
ลักษณะเด่น ของแผนภูมิชนิดนี้นิยมใช้รูปภาพ และแผนภาพ แสดงสัญลักษณ์ที่แตกต่าง ฉพาะส่วนที่เป็นสาระสำคัญผู้ดูจะเข้าใจข้อแตกต่างทันทีที่เห็นภาพ
ลักษณะเด่น ของแผนภูมิชนิดนี้นิยมใช้รูปภาพ และแผนภาพ แสดงสัญลักษณ์ที่แตกต่าง ฉพาะส่วนที่เป็นสาระสำคัญผู้ดูจะเข้าใจข้อแตกต่างทันทีที่เห็นภาพ
แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ (Developmental Chart)
เป็นแผนภูมิที่มุ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ที่ต่อเนื่องติดต่อกัน เป็นช่วงเวลาที่ยาวนาน ไม่ขาดสาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น วิวัฒนาการของการบิน วิวัฒนาการของเครื่องแต่งกาย วิวัฒนาการของการสื่อสาร
ลักษณะเด่น ของแผนภูมิชนิดนี้คือ นิยมใช้รูปแบบหรือลายเส้นแสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลง
ลักษณะเด่น ของแผนภูมิชนิดนี้คือ นิยมใช้รูปแบบหรือลายเส้นแสดงลักษณะการเปลี่ยนแปลง
แผนภูมิแบบสายธาร (Stream Chart)
เป็นแผนภูมิที่ออกแบบโดยยึดลักษณะการเกิดของแม่น้ำลำธาร ที่เกิดจาก แควเล็ก แควน้อย ไหลมารวมกัน เกิดเป็นแม่น้ำลำธาร แผนภูมิชนิดนี้เหมาะสำหรับการนำเสนอเนื้อหา ที่อยู่ในรูปของการสังเคราะห์ เช่นการรวมสิ่งย่อยๆ เข้าด้วยกันเป็นสิ่งใหญ่ๆ เช่นๆ การแสดงองค์ประกอบของอากาศ ส่วนประกอบของขนมปัง ฯลฯ
ลักษณะเด่น ของแผนภูมิชนิดนี้ คือการใช้ลูกศรชี้จากองค์ประกอบย่อยเข้าสู่ข้อมูลที่เป็นผลรวม
ลักษณะเด่น ของแผนภูมิชนิดนี้ คือการใช้ลูกศรชี้จากองค์ประกอบย่อยเข้าสู่ข้อมูลที่เป็นผลรวม
แผนภูมิแบบองค์การ (Organization Chart)
เป็นแผนภูมิที่ออกแบบเพื่อมุ่งให้เห็นสายการบริหารงาน และความสัมพันธ์ของหน่วยงานย่อยๆ ในองค์กรต่างๆ อาจเน้นในด้านหน่วยงานย่อย หรือตำแหน่งบริหารระดับต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่นการบริหารของสถานศึกษา การบริหารงานของ สปจ. การบริหารของศูนย์ หรือการบริหารของบริษัทต่างๆ
ลักษณะเด่น ของแผนภูมิชนิดนี้คือใช้บล๊อกสี่เหลี่ยมแล้วใช้เส้นทึบโยงความสัมพันธ์ ถ้าใช้เส้นไข่ปลาหมายถึง หน่วยงานพิเศษ หรือหน่วยงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ลักษณะเด่น ของแผนภูมิชนิดนี้คือใช้บล๊อกสี่เหลี่ยมแล้วใช้เส้นทึบโยงความสัมพันธ์ ถ้าใช้เส้นไข่ปลาหมายถึง หน่วยงานพิเศษ หรือหน่วยงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
แผนภูมิแบบตาราง (Tabular Chart)
เป็นแผนภูมิที่อกแบบสำหรับนำเสนอข้อมูลเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับเหตุการณ์ ทำให้ดูเข้าใจง่าย
ลักษณะเด่น ของแผนภูมิชนิดนี้คือ นำเอาข้อมูลมาแสดงในรูปตาราง เช่น เวลาเข้าออกของรถไฟ ตารางเรียน ตารางปฏิบัติงานตามโครงการ ตารางแสดงเที่ยวบินของสายการบินไทย เป็นต้น
ลักษณะเด่น ของแผนภูมิชนิดนี้คือ นำเอาข้อมูลมาแสดงในรูปตาราง เช่น เวลาเข้าออกของรถไฟ ตารางเรียน ตารางปฏิบัติงานตามโครงการ ตารางแสดงเที่ยวบินของสายการบินไทย เป็นต้น
แผนภูมิแบบอธิบายภาพ (Achie Vement Chart)
เป็นแผนภูมิที่มุ่งแสดงลักษณะของสิ่งต่างๆ โดยใช้รูปภาพและคำบรรยายไปยังภาพ หรือใช้หมายเลขกำหนดไว้ในภาพ แล้วเขียนคำบรรยายกำกับหมายเลขไว้อีกส่วนหนึ่งก็ได้ เช่น แสดงส่วนต่างๆของพืช ของมนุษย์ ของสัตว์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องทรงตัวละคร เป็นต้น
ลักษณะเด่น ของแผนภูมิชนิดนี้คือ ใช้ภาพที่เหมือนของจริง
ลักษณะเด่น ของแผนภูมิชนิดนี้คือ ใช้ภาพที่เหมือนของจริง